วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

our profile


ชื่อ : วิมล ชาญชนะจิตกุล   
ชื่อเล่น  : หมวยสวย ^^

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาชีวการแพทย์

รหัสนิสิต : 53109010416
วันเกิด : 31-7-2534 
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
ประวัติการศึกษา : กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
ปัจจุบันอาศัย : หอในกากๆๆ
นิสัย : เป็นคนน่ารักอ่อนหวาน(ตรงไหน) จิตใจดี มีเมตตา ใจกว้าง ชอบช่วยเหลือผู้คน ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ปรากฏ 555+  มีโลกส่วนตัวสูง เครียดง่ายหายเร็ว ชอบอยู่กับสังคม ชอบการสังสรรค์ งานรื่นเริง (สโม) 
สิ่งที่สนใจ : เรื่องผู้ชาย                                                                    ผลงงานที่ผ่านมา  : เป็นนางเอกมงกุฎดอกทอง (ล้อเล้นๆๆ) โครงการจิตอาสาไปช่วยเหลือน้องๆตามโรงเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โครงการปลูกป่าชายเลน  งานอดิเรก ฟังเพลง ดูหนัง เล่นเกม ดูทีวี


สิ่งที่ตัวเองชอบมาที่สุด
1.ดาราเกาหลี 2.วันหยุด 3.เงิน 4.ขนมน้องเทค,พี่เทค 5.นอน


สิ่งที่ตัวเองไม่ชอบมากที่สุด
1.การอ่านหนังสือสอบ 2.การไม่มีเงินใช้ 3.แมลงที่องครักษ์ 4.ยามหอใน 5.อินเตอร์เน็ตมหา'ลัย




ชื่อ : กมลวรรณ  ปราบพาล     
ชื่อเล่น : ก้ามปู                                    
 รหัสนิสิต : 53109010127 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ชีวการแพทย์

การศึกษา : กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี 

จบมัธยมจากโรงเรียน สารวิทยา                                                        มีน้องสาว 1 คน ชื่อ ก้างปลา 

ปัจจุบัน : อาศัยอยู่กับพ่อ แม่ และน้องสาว  


วันเกิด : 18  .  2535   
เกิดที่ :  โรงพยาบาลอุดรธานี    จังหวัดอุดรธานี  แล้วย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพตอน 2 ขวบเป็นคนกินเยอะ อารมณ์เสียง่ายในวันที่อากาศร้อน บางครั้งก็แป็นคนคิดมาก ในทุกๆเรื่อง  เวลามีงานจะทำเต็มที่ ถึงไหนถึงกัน (มั้ง) ถ้ามองผ่านๆอาจคิดว่าหยิ่ง แต่ความจริงนิสัยดีนะค่ะ  รักเด็กค่ะ
เลือดกรุ๊ป เอ  ความดันปกติ 120/85

นิสัย : เป็นคนสบายๆ บางครั้งก็จริงจัง  เครียดเกินไป  ชอบทำอะไรเร็วๆ  และชอบนอนเป็นพิเศษ
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ  ท่องเว็บ  แกะท่าเพลงเกาหลี  เต้นHip hop  นั่งดู youtube  นอน

ผลงานของตัวเองที่ผ่านมา :  เป็นหลีดของคณะ  ได้ทุนการศึกษาของบริษัทการบินไทย   เป็นนางนพมาศของคณะวันลอยกระทง เข้าร่วมกิจกรรมของคณะอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่ตัวเองชอบมากที่สุด : 
1. ชอบกินน้ำแข็ง
2. ชอบดูหนังฝรั่ง

3.  ชอบสุนัข   
4.  ชอบอากาศเย็นๆ

5.  ชอบนอนแบบไม่จำกัดเวลา

สิ่งที่ตัวเองไม่ชอบมากที่สุด                                                                 1.  อากาศร้อนอบอ้าว
2. เนตหอ(ซึ่งยังไม่มี)

3. แมลงทุกชนิด
4. การสอบ
5. ระบบประปาหอ11




ชื่อ : นางสาว ภัทราภรณ์ ภัทรวรานนท์

ชื่อเล่น : ช้าง (แอร์)
รหัสนิสิต : 53109010410
เกิด : วันที่ 9 กันยายน 2534
เป็นลูกคนเดียว
อาศัย : สุรินทร์ 
จบการศึกษา : ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนสุขานารี (โรงเรียนอนุบาลช้าง)
จบการศึกษา : ชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนสุรนารีวิทยา
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา ชีวการแพทย์
นิสัย : ร่าเริง สนุกสนาน เฮฮา
สนใจเรื่อง : การท่องเที่ยว Shopping(แต่ไม่มีเงินซื้อของ)
ผลงานที่ผ่านมา :ประธานการเรียนและมารยาท 5555  เมื่อสมัยมัธยม
งานอดิเรก : เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ(ดารา)
สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุด :
งู ตุ๊กกา กิ้งกือ คางคก ทุเรียน
สิ่งที่ชอบมากที่สุด :
อ้อย การท่องเที่ยว การช้อปปิ้ง ราดหน้าหมี่กอบ สุนัข นิชคุณ







ชื่อ : นางสาว วนิดา   ธรรมวงษ์

ชื่อเล่น : แหวน
รหัสนิสิต : 53109010415
เกิด : วันที่ 30 กรกฎาคม 2534
เป็นลูกคนแรก ในพี่น้อง2คน 
น้องชื่อ : เด็กหญิงวาเศรษฐี ธรรมวงษ์
จบการศึกษา : ชั้นประถมศึกษาที่ มารีย์อุปถัมภ์ ชัยภูมิ
จบการศึกษา :  ชั้นมัธยมศึกษาที่ ชัยภูมิภักดีชุมพล


ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา ชีวการแพทย์
นิสัย : สนุก เฮฮา ชอบเที่ยว
สนใจเรื่อง : การท่องเที่ยว  แฟชั่น handsome guy อิอิ
ผลงานที่ผ่านมา : ร่วมกิจกรรมเล็กๆน้อยๆของทางคณะ
งานอดิเรก : สะสมแสตมป์ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน
สิ่งที่ชอบมากที่สุด : 
1) เงิน เงิน เงิน2) มิตรภาพที่สวยงาม3) สถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ4) อาหารญี่ปุ่น5) รอยยิ้ม....
สิ่งที่ไม่ชอบมากที่สุด : 
1) จิ้งจก ตุ๊กแก2) การอยู่คนเดียว3) การโกหก4) ความอ้วนนนนน5) บลาๆๆๆ :(

Digital Compass

โมดูลเข็มทิศ (Compass Module)
        โมดูลเข็มทิศแบบดิจิตอล เป็นเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อใช้ระบุตำแหน่งทิศทางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เหมาะอย่างยิงกับการประยุกต์ใช้งานกับหุนยนต์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ที่ต้องมีการเคลื่อนที่
อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาทิศทางขั้วแม่เหล็กโลก นั้นคือเข็มทิศ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมากในการเดินทางเอาไว้หาทิศทาง ซึ่งเข็มทิศนั้นจะต้องชี้บอกตำแหน่งทางทิศเหนืออยู่เสมอ 
        พอมาถึงยุคดิจิตอลที่อะไรๆ มันก็เล็กลงเล็กลงทุกที เข็มทิศก็มีการพัฒนาจนมากลายเป็นโมดูลขนาดเล็กๆ เพียง 6mm.x 6mm. เท่านั้นเอง ซึ่งเล็กมากๆ สามารถนำเข้าไปติดตั้งที่อุปกรณ์เช่นมือถือหรือว่าในรถในเรือได้ทันที   เจ้าโมดูลตัวจิ๋วนี้มีรหัสว่า    Compass Module  ใช้การเชื่อมต่อข้อมูล แบบ I2C  2 wire serial interface  ใช้ไฟได้ตั้งแต่ 2.7V-5V ซึ่งสะดวกมากในการนำไปพัฒนา
   
     โมดูล HMC6352 นี้จะใช้การบอกทิศทางแบบอะซิมุท (Azimuth) ซึ่งการบอกแบบนี้จะเป็นวิธีการที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่ วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบกับแนวเป้าหมาย ที่ต้องการมุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0-360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใดก็เรียกทิศเหนือตามหลักนั้น


      ทำการทดลองกันเลย
 เตรียมอุปกรณ์กันก่อน

 1. HMC6352 ซึ่งปัจจุบันโมดูลตัวนี้มีหลายแบบครับใช้งานได้เหมือนกันรุ่นใหม่ๆจะเล็กลง มา


2. บอร์ดตัวเก่งของ เรา Arduino นั่นเอง ซึ่งก็ต้องมาพร้อมกับโปรแกรมภาษา C++ ที่สามารถหาโหลดมาใช้ทำให้การเขียนโปรแกรมติดต่ออุปกรณ์ต่างๆ นั้นเป็นเรื่องง่ายๆ 

หลังจากอุปกรณ์ต่างๆ ครบแล้วต่อมาก็ทำการต่อวงจรดังรูปเลยครับ

ให้ต่อไฟ GND และ SDA SDL ซึ่งเหตุผลที่ใช้ Analog 4 และ 5 ของ Arduino ก็เพราะว่า ฟังชั่น wire.h ของโปรแกรม Arduino นั้น ได้เขียนไว้โดยกำหนดไว้แล้ว เราก็ดึง wire.h มาใช้เลยก็เลยต้องต่อที่พอร์ตนี้จ้า

เริ่มต่อกันเลย
ต่อสายเพียงแค่ 2 เส้นเท่านั้นเอง  
ต่อมาก็ทำการโปรแกรมให้กับ Arduino อ่านค่าออกมาโดยให้โปรแกรมดังนี้


CODE

#include <Wire.h>

int HMC6352Address = 0x42; //address ของ HMC6352 ที่ทางโรงงานนั้นกำหนดมาคือ 0x42 
int slaveAddress;
int ledPin = 13;
boolean ledState = false;
byte headingData[2];
int i, headingValue;

void setup()
{// Shift the device's documented slave address (0x42) 1 bit right
// This compensates for how the TWI library only wants the
// 7 most significant bits (with the high bit padded with 0)

slaveAddress = HMC6352Address >> 1;   // This results in 0x21 as the address to pass to TWI
Serial.begin(9600);
pinMode(ledPin, OUTPUT);      // Set the LED pin as output
Wire.begin();
}


void loop()
{
  // Flash the LED on pin 13 just to show that something is happening
  // Also serves as an indication that we're not "stuck" waiting for TWI data

  ledState = !ledState;
  if (ledState) {
    digitalWrite(ledPin,HIGH);
  }
  else
  {
    digitalWrite(ledPin,LOW);
  }
  // Send a "A" command to the HMC6352
  // This requests the current heading data

  Wire.beginTransmission(slaveAddress);
  Wire.send("A");              // The "Get Data" command
  Wire.endTransmission();
  delay(10);                   // The HMC6352 needs at least a 70us (microsecond) delay
  
  // หลังจากที่ได้ส่ง A ซึ่งเป็นคำสั่งให้โมดูลส่ง Output ออกมาเราจะก็จะทำการอ่านค่า Output โดยใช้ Heading Mode ของตัวไอซี
// ตัวอย่าง เราจะอ่านค่าออกมาเป็น 1345    ค่าองศาอซิมุสจะเท่ากับ   134.5 degrees


  Wire.requestFrom(slaveAddress, 2);        // Request the 2 byte heading (MSB comes first)
  i = 0;
  while(Wire.available() && i < 2)
  { 
    headingData[i] = Wire.receive();
    i++;
  }

  headingValue = headingData[0]*256 + headingData[1];  // Put the MSB and LSB together
  Serial.print("Current heading: ");
  Serial.print(int (headingValue / 10));     // The whole number part of the heading
  Serial.print(".");
  Serial.print(int (headingValue % 10));     // The fractional part of the heading
  Serial.println(" degrees");
  delay(500);
}


เมื่อพิมพ์โปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วจากนั้นทำการกด Upload ลงสู่ Arduino

แล้วใช้ Hyper terminal รับค่าที่เราส่งมา โดยตั้ง Baudrate ที่ 9600 

จากนั้นเราลองวัดที่ทางทิศเหนือกันก่อน

ค่าที่ได้ก็จะออกมาอยู่ที่ ประมาณ 0 องศา หรือ 360 องศา

ลองหันไปทางทิศตะวันออก ดูบ้าง หรือ 90 องศา Azimuth 

ค่า Output ที่ออกมาก็จะออกมาประมาณ 90 องศา

ลองอีกซักมุมสองมุมอย่างอันนี้ไม่รู้ว่ามุมเท่าไรแต่ไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้

ค่าออกมาประมาณ 135 องศา

ลองหันทางนี้บ้าง



ราคาสินค้าประมาณ   1150 – 2100 บาท

HMC6352 Modulehttp://www.warf.com/index.php?action=productreview&productitems=360

Datasheet
http://www.sparkfun.com/datasheets/Components/HMC6352.pdfArduino Decimal USB
http://www.warf.com/index.php?action=productreview&productitems=132ข้อมูล Arduino
http://www.wara.com/modules.php?name=News&file=article&sid=711



 

Sensor Gyro

               Sensor Gyro จะทำหน้าที่วัดความเร็วเชิงมุม ก็คือโอเมก้าในวิชาฟิสิกส์ Gyroscope ได้กำเนิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1852 ครับ โดย นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศษที่ชื่อ ฌอง โบนาปาต์ เลอง ฟูโกลต  ( Leon Foucault) ได้คิดประดิษฐ์ ล้อที่ติดตั้ง อยู่ในวงแหวนที่หมุนได้ เมื่อหมุนล้อหรือโรเตอร์แล้วเจ้าล้อมันจะหมุนในทิศทางเดิมของมันในอากาศ โดยไม่ขึ้นกับการเอียงไปเอียงมาของกรอบหรือวงแหวนที่ล้อมรอบมัน ซึ่งเค้าได้ ตั้งชื่อ อุปกรณ์ตัวนี้ว่า Gyroscope ครับ ซึ่งจากคุณสมบัติในข้อนี้เอง ทำให้ มันสามารถที่จะเป็นเครื่องบ่งชี้ทิศทางได้นั่นเอง 
           ไจโรสโคปนั้นมีประโยชน์อย่างมากมายการใช้ไจโรสโคปครั้งแรกนั้น เกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1910 ได้นำไปติดตั้งในเรือรบของเยอรมนี ต่อมาในปี ค.ศ. 1909 นายเอลเมอร์ เอ. เสปอร์รี (Elmer A. Sperry) ได้สร้างเครื่องบินที่บินอัตโนมัติ ที่ใช้คุณสมบัติการรักษาทิศทาง ของไจโรสโคปเพื่อให้เครื่องบิน บินได้ตรงทิศทาง 
             สำหรับการติดตั้งบนเรือนั้นเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1915 บริษัท อันชิทซ ตั้งอยู่ที่ เมืองคีล ประเทศเยอรมนี ได้ติดตั้งบนเรือโดยสาร ของเดนมาร์ก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้รักษา เสถียรภาพการของเรือ เพื่อให้ ลดการโคลง ของเรือ ซึ่งทำให้สินค้ามีความเสียหายน้อยลง และทำให้ผู้โดยสารรู้สึกสบายขึ้น ซึ่งระบบ ตรงนี้ เค้า เรียกว่า Gyrostabilizer  แต่ใช้วิธีนี้มีข้อเสียมากมาย คือ เรือนั้นมีน้ำหนักมาก และเสียเนื้อที่มาก เพราะต้องสร้างไจโรสโคปขนาดใหญ่
หลักการทำงานของ Gyro sensor และ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
จากภาพวิดีโอนั้นเราจะเห็นได้ว่า ล้อที่แขวนไว้อยู่บนเชือกนั้นเมื่อยังไม่ได้หมุนล้อ จะทำให้ล้อที่แขวนอยู่นั้นห้อยลงตามลักษณะที่ผูกเชือกไว้   แต่เมื่อพอเค้าได้ทำการหมุน ล้อแล้วจะทำให้ล้อสามารถตั้งได้ดูเหมือนกับอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักทั้งนี้เป็นเพราะการทำงานของ Gyroscope นั้น จะเป็นไปตามกฎ ของนิวตันคือ มวลจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำ เมื่อตัวไจโรหมุนไป 90 องศา จุดบนจะหมุนเปลี่ยนตำแหน่งไป 90 องศา และยังเคลื่อนที่ไปทางซ้าย เช่นเดียวกับจุดล่าง เมื่อหมุนขึ้นมา 90 องศา มันยังคงเคลื่อนที่ไปทางขวา ทำให้ล้อเกิดการหมุนควง ขณะที่จุดบนและจุดล่างเปลี่ยนตำแหน่งไป 90 องศา การเคลื่อนที่ในครั้งแรก จะถูกยกเลิกไป ไม่เกิดการพลิกของล้อ ดังนั้นแกนหมุนของไจโรจะเหมือนกับห้อยอยู่กับที่ตลอดเวลา  
      ยกตัวอย่าง ถ้าเราจับ Accelerometer มาเอียงแล้ววัด Output เราจะได้ค่า ค่านึงซึ่งบ่งบอกถึงการเอียงในรูปแบบนั้นๆ ถ้าเราเปลี่ยนไปค่านี้ก็จะเปลี่ยนตามแต่ถ้าเราจับ Gyro มาเอียงแล้ววัด Output เราจะพบว่า Output ของ Gyro จะออกก็ต่อเมื่อเกิดการเอียง หรือกำลังจะเอียง หรือเกิดการเคลื่อนไหว (วัตถุอยู่นิ่ง Gyro วัดค่าไม่ได้ เพราะไม่มีความเร็ว)
          
ดังนั้นเมื่อเอาคุณสมบัติแบบนี้ไปสร้างอุปกรณ์วัดระดับเราก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งGyro มันเอียงไปจากเดิมเท่าไร ซึ่งเมื่อ โรเตอร์หมุนแล้ว มันก็จะคงตำแหน่งอยู่แบบนั้น กรอบที่เป็นแหวนซึ่งอยู่ล้อมรอบเมื่อเราได้ติดตั้งตัววัดระยะ วัดการหมุนก็สามารถเช็คมุมที่เปลี่ยนไปได้เลย

หลักการทำงานของGyro Sensor

       ในปัจจุบันก็มีไจโรสโคปขายอยู่อย่างมากมาย ซึ่งมีขนาดเล็ก และยังสามารถใช้งานง่าย อีกด้วย

การนำ Gyroscope  มาประยุกต์ใช้
1. Demonstration Gyroscope
Demonstration Gyroscope มักจะพบในแหล่งการศึกษาเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของGyroscope ลักษณะทั่วไปของมันมักจะมีลักษณะเหมาะที่จะใช้ในการรับแรงผ่านวงแหวน เพื่อให้ผู้ใช้ทดสอบการหาตำแหน่งใน1 มิติ
2. Computer Pointing Devices

       มีการนำ Gyroscope มาใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อบอกตำแหน่งในคอมพิวเตอร์เช่นการควบคุมเมาส์ในอากาศ ดังรูป เรียกว่า Gyromouse ซึ่งประกอบด้วย 3 เทคโนโลยี คือ Gyroscope ,การทำงานของเมาส์ (mouse ball mechanism) ,สัญญาณความถี่วิทยุ (radio frequency) ในการเลื่อนของ Gyroscope ภายในตัวเมาส์จะทำให้ทราบตำแหน่ง cursorได้ โดยหลักการทำงานของเมาส์ที่ใช้งานทั่วไป ส่วน radio เทคโนโลยีใช้สำหรับสร้าง Gyromouse แบบไร้สายช่วยควบคุมระยะได้ประมาณ40 ฟุต

Gyroscope ช่วยในการบอกทิศทางมีการใช้งานที่ง่ายสามารถนำไปติดที่อุปกรณ์เพื่อให้เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระเนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางของอุปกรณ์ไม่ทำให้ Gyroscope เปลี่ยนทิศไป ด้วยการหมุนไปของ Gyroscope โดยแกนของ Gyroไม่เปลี่ยนนี้สามารถนำไปวัดความเปลี่ยนแปลงของทิศทางได้
Gyrocompasses มักจะใช้ในเรือหรือยานอวกาศในการบอกทิศทาง

7. Gyroscopic anti-roll devices/stabiliser
นำไปใช้ในรถไฟรางเดียวหรือเรือโดยอาศัยหลักการทรงตัวของมันทำให้รถไฟทรงตัวอยู่ได้และทำให้เรือไม่ถูกซัดล้มลงโดยคลื่นเนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้ทัน 
8. Others
เช่นการใช้งานทางทหาร,การสร้างHelicopter แบบGyro เป็นต้น

       นี้เป็นสาเหตุให้เกิดการผสมผสานระหว่าง Sensor สองตัวนี้ ทำให้มีทฤษฎีมารองรับมากมาย อธิเช่น Kalman Filter, Complementary Filter ใช้การผสมผสานข้อดีของทั้งสอง Sensor 
วงจรที่ใช้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์       
ในเมื่อ Accelerometer สามารถวัดความเอียงได้เรียบร้อย ไม่มีความจำเป็นจะต้องวัดความเร็วเชิงมุม ?เพราะว่า Output ของ Accelerometer มีผลกับแรงโน้มถ่วง นั่นหมายถึงค่า Output ของ Accelerometer ไม่มีทางหยุดนิ่งเฉย แม้ปล่อยทิ้งไว้ มันก็จะวิ่งขึ้นๆ ลงๆ สั่นไปสั่นมา ต่างกับ Gyro ที่ปล่อยทิ้งไว้ค่า Output ที่ได้ก็จะนิ่ง ไม่เกิดการสั่นและถ้าเรานำ Output ของ Gyro มาใช้กรรมวิธีการ Discrete Integral ก็จะสามารถหามุมได้ (เพราะ Output ของ Gyro เป็นความเร็วเชิงมุม)  ส่วนกรรมวิธีในการ Integral ใน MCU เราจะใช้ Discrete Integral ผมชอบพูดว่าเป็นการอินทิเกรตมือ หลักการคล้ายๆ กับการคูณใน MCU
การคูณใน MCU ทำได้โดยการบวก ไปจนครบจำนวนครั้ง การอินทิเกรตก็เหมือนกัน ให้มองกลับไปที่รากฐานการอินทิเกรต ถ้ามีกราฟมาให้มันก็คือพื้นที่ใต้กราฟ เราจะอินทิเกรตเราทำได้โดยแบ่งพื้นที่ใต้กราฟเป็นเส้นเล็กๆ แล้วหาพื้นที่เล็กๆ นั้น จากนั้นก็จับมารวมกัน
ถ้าเราแบ่งพื้นที่เล็กๆ นั้นด้วยเวลา t0, t1, t2, tn
 นั่นก็คือเอาพื้นที่ ที่เวลา t0 มารวมกับพื้นที่ ที่เวลา t1 เอาพื้นที่ไปรวมกับพื้นที่ที่เวลา t2 ไล่ไปเรื่อยๆ ถึง tn โดยไม่สนใจว่าพื้นที่นั้นมีค่าเป็นบวกหรือลบ สุดท้ายแล้วคำตอบจะบอกเราเองว่าผลลัพท์ที่ได้ ชี้ไปในทิศทางใด  
3. Racing Car
คุณลักษณะของ Gyroscopeเชิงพฤติกรรม (Gyroscopic behavior) มักจะใช้ในอุตสาหกรรมรถแข่ง รถจะเลี้ยวในทางเดียวเท่านั้น เมื่อรถเกิดการเลี้ยวจะมีลักษณะเป็นพฤติกรรมทาง Gyro ดังนี้เครื่องยนต์จะกดตัวรถด้านหน้าให้ต่ำลงและยกด้านหลังให้สูงขึ้นไปในอากาศทำให้รถสามารถทรงตัวอยู่ได้  
4. Motor Bikes                                                                          
เช่นเดียวกับ Racing Carโดยพิจารณาที่การทำงานของล้อเคลื่อนที่แบบGyroโดยอาศัยมุมในการเลี้ยวช่วยด้วย
5. Toy
ของเล่นทใช้การหมุนเป็นรูปแบบหนึ่งของ Gyroscope เมื่อด้านหมุนของวัตถุนั้นหมุนจะเกิดแรงยกวัตถุนั้นขึ้นไม่ให้ล้มลง
6. Gyrocompasses
            ราคา : ประมาณ 2,000 - 28,000 บาท
แหล่งอ้างอิง :
http://zygomatica.exteen.com/